1 กุมภาพันธ์ 2568 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – พุทธคยา อินเดีย (ขาไป ต่อเครื่อง โกลกาตา)
✥ เวลา 03:00 น. คณะพร้อมกัน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออก ชั้น 4 ประตูทางเข้าที่ 9 เคาน์เตอร์ สายการบิน IndiGo *** เพื่อทำการเช็คอิน โหลดสัมภาระ ทุกท่านได้น้ำหนักสัมภาระ ถือขึ้นเครื่อง 7 กิโล และโหลดใต้ท้องเครื่อง ท่านละ 20 กิโล*หากน้ำหนักเกินท่านต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
✥ เวลา 05:45 น. เหินฟ้าสู่ เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย โดยสายการบิน เที่ยวบินที่ 6E 1058 (ใช้เวลาบินประมาณ 2 ชั่วโมง 55 นาที)
✥ เวลา 07:10 น. *ตามเวลาท้องถิ่นประเทศอินเดีย คณะเดินทางถึง ท่าอากาศยานนานาชาติโกลกาตา นำท่านผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อยแล้ว รอต่อเครื่อง 3 ชั่วโมง 30 นาที (รับประทานอาหารเช้า ณ สนามบินโกลกาตา)
✥ เวลา 10:40 น. เหินฟ้าสู่ เมืองคยา ประเทศอินเดีย โดยสายการบิน เที่ยวบินที่ 6E 5253 (ใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง 5 นาที)
✥ เวลา 11:45 น. *ตามเวลาท้องถิ่นประเทศอินเดีย คณะเดินทางถึง ท่าอากาศยานนานาชาติคยา (สถานที่ตั้งสังเวชนียสถานแห่งการตรัสรู้ “พุทธคยา” ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) หลังจากเสร็จพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและตรวจสัมภาระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นำท่านเข้าสู่ตัวเมืองคยา พุทธคยา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารซึ่งเป็นรัฐที่ยากจนที่สุดของอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ “ปัฏนา” มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ
นำท่านเดินทางสู่ที่พัก เช็คอินเข้าที่พัก รับประทานอาหารเที่ยง เสร็จแล้วพักอิริยาบถ
✥ เวลา 14:00 น. เดินทางไปสถูปนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวมธุปายาส ข้าวแห่งความสำเร็จ แด่พระมหาโพธิสัตว์ นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนานีกุฎุมพี ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีการสันนิษฐานถึงที่ตั้งของบ้านนางสุชาดาคือสุชาตาสถูปในหมู่บ้านพักเราร์ใกล้พุทธคยา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนางโดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ และสำเร็จทั้ง 2 ประการ คือ 1. ขอให้ได้สามีที่มีบุญ มีทรัพยสมบัติ และชาติสกุลเสมอกัน 2. ขอให้มีบุตรคนแรกเป็นชาย
✥ เวลา 16:00 น. เดินทางไปนมัสการ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ มหาเจดีย์พุทธคยา สักการะพระพุทธเมตตา สักการะสัตตมหาสถาน7 สัตตมหาสถาน หรือสถานที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับเสวยวิมุต เป็นเวลา 7 สัปดาห์ หลังจากตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
(ห้ามนำโทรศัพท์, เพาเวอร์แบงก์, เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น หูฟัง นาฬิกา หรือที่มีแบตเตอรี่ทุกชนิด เข้าไปในบริเวณพระมหาเจดีย์พุทธคยา สามารถฝากไว้ที่ทางเข้าด้านหน้า หรือไม่พกติดตัวมาด้วย)
*สามารถนำกล้องวีดีโอและกล้องถ่ายภาพเข้าไปได้ โดยชำระค่าตั๋ว 100 – 200 รูปี ต่ออุปกรณ์
✥ เวลา 18:00 น. เดินทางกลับที่พัก พักอิริยาบถ
✥ เวลา 18:30 น. รับประทานอาหารเย็น/รับน้ำปานะ
- ร่วมทอดผ้าป่าชำระหนี้สงฆ์ ถวายสังฆทาน
- พักผ่อนตามอัธยาศัย
2 กุมภาพันธ์ 2568 พุทธคยา – นาลันทา – เมืองราชคฤห์ – เขาคิชฌกูฎ
✥เวลา 06:00 น. รับประทานอาหารเช้า, เก็บสัมภาระ เช็คเอาท์
✥เวลา 07:30 น. เดินทางไปเมืองราชคฤห์ (พักรถวัดนวมินทรธัมมิกราช)
เมืองราชคฤห์ หรือ เบญจคีรีนคร แปลว่า เมืองที่มีเขาทั้ง 5 ลูกล้อมรอบอันได้แก่ เขาคิชฌกูฏเขาปัณฑวะ เขาเวภาระ เขาอิสิคิลิ และเขาเวปุลละ เมืองราชคฤห์ ในสมัยพุทธกาลนั้นเดิมทีเป็นเมืองหลวงของแควันมคธ ที่มีประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธ และเป็นสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ของพระพุทธศาสนาอีกมากมาย
สักการะพระมูลคัณธกุฏี เขาคิชฌกูฏ
ระหว่างทางเดินทางขึ้นเขาชมจุดสำคัญต่างๆ ยอดเขาคิชฌกูฏ สถานที่ประทับพรรษาที่ 2 ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปรากฏหลักฐานหลายจุดที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ อันประกอบไปด้วย
1. ถ้ำพระโมคคัลลานะ 2. จุดที่กลิ้งหินของพระเทวทัต 3. ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร) 4. อานันทกุฎี 5. พระคันธกุฎี
*ท่านใดต้องการเสลี่ยงขี้นเขาคิชฌกูฏกรุณาแจ้งล่วงหน้า ค่าบริการขึ้น-ลง 1,200 บาท รวมทิป
เดินทางสู่ถ้ำโสนภัณฑาร์ หรือถ้ำคลังมหาสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงความมั่งคั่ง ร่ำรวยในอดีตของกรุงราชคฤห์ที่เหนือกว่าเมืองอื่น ๆ ในสมัยนั้น มหาสมบัติเหล่านี้อยู่ในถ้ำหินที่เกิดจากการขุดเจาะภูเขาเวภารบรรพต ซึ่งมีอยู่ 2 ถ้ำอยู่ติดกัน ชาวพุทธไทยเมื่อมาสักการะพุทธสถานแห่งนี้ มักจักนิยมอธิษฐานขอมหาสมบัติ และนำกระเป๋าเงินมากวักสมบัติใส่กระเป๋ากลับบ้าน
✥เวลา 11:00 น. ถึงวัดไทยนาลันทา เช็คอิน รับกุญแจที่พัก, รับประทานอาหารเที่ยง, พักอิริยาบถ
✥เวลา 14:00 น. เดินทางไปนมัสการหลวงพ่อองค์ดำ สวดมนต์ ห่มผ้า ทาน้ำมัน ขอพรให้หายเจ็บป่วย (ศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้คนเดินทางไปขอเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ให้หาย ฯลฯ)
- ชมมหาวิทยาลัยนาลันทา บ้านท่านพระสารีบุตรเถระ
เป็นอดีตพุทธวิทยาลัยในอาณาจักรมคธ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เอกสารทางศาสนาพุทธปรากฏเรียกนาลันทาว่าเป็น มหาวิหาร จนกระทั่งราว ค.ศ. 400 มหาวิทยาลัยเริ่มกลายเป็นของศาสนาพราหมณ์เป็นหลัก ตามด้วยนิกายมหายานในภายหลัง วิชาการอย่าง พระเวท, เวทางคะ, ไวยากรณ์ (วยากรณะ), ดาราศาสตร์ (ชโยติศะ), ตรรกะ (ตรรกะ) มีการศึกษาในนาลันทามหาวิหาร ปัจจุบันโบราณสถานนาลันทาตั้งอยู่ราว 95 กิโลเมตร (59 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปัฏนา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ห้าถึง ค.ศ. 1200 ยูเนสโกรับรองสถานะแหล่งมรดกโลกให้กับนาลันทามหาวิหารในปี ค.ศ. 2016
✥เวลา 18:00 น. เดินทางกลับวัดไทยนาลันทา, รับน้ำปานะ, ทานอาหารเย็น
- ร่วมทอดผ้าป่าชำระหนี้สงฆ์ ถวายสังฆทาน
พักผ่อนตามอัธยาศัย
3 กุมภาพันธ์ 2568 นาลันทา – เมืองไวสาลี – ปาวาลเจดีย์ – เกสรียาเจดีย์ – กุสินารา
✥เวลา 05:00 น. รับประทานอาหารเช้า
- เก็บสัมภาระ เตรียมตัวเช็คเอาท์
✥เวลา 06:00 น. ออกเดินทางไปยัง เมืองไวสาลี (ใช้เวลา 4 ชั่วโมง)
เมืองเวสาลี (อินเดีย) เป็นเมืองที่สำคัญในประวัติพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ปรากฏในพระสูตรมากมาย มีรัตนสูตรเป็นต้น ซึ่งรัตนสูตรนี้เองนับว่าเป็นจุดต้นกำเนิดการทำน้ำพระพุทธมนต์ อีกทั้งเมืองนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการบวชภิกษุณีสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาสุดท้ายและปลงพระชนมายุสังขารก่อนดับขันธปรินิพพานอีกด้วย
✥เวลา 10:00 น. เดินทางถึงปาวาวเจดีย์ รับประทานอาหารเที่ยง
พระสถูปปาวาลเจดีย์ ในพุทธประวัติ กล่าวถึง พระพุทธเจ้าได้ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เวฬุวคาม ซึ่งอยู่ชานเมืองเวสาลีและได้ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และได้เผยแผ่พระธรรมคำสอนเป็นระยะเวลา 45 ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือตั้งพระทัยว่า “ต่อแต่นี้ไปอีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน” ซึ่งวันนั้นตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา
✥เวลา 14:00 น. ถึงมหาสถูปเกสริยา
สถูปทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย เป็นมหาสถูปพบใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย สถานที่ประดิษฐานบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาววัชชี เมื่อครั้งพุทธกาล มหาสถูปแห่งเกสเรียนี้เป็นสถูปเดียวกับที่ปรากฏในบันทึกของพระถังซำจั๋ง ที่เคยจาริกแสวงบุญมายังสถานที่แห่งนี้ ท่านได้กล่าวไว้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระมหาสถูปที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธองค์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ชาววัชชีเมืองไวสาลีที่ตามมาส่งเสด็จพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะเสด็จไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน
หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว เชื่อกันว่า ชาวเมืองไวสาลีนำโดยเจ้าลิจฉวี ได้สร้างสถูปขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับพระพุทธเจ้า พร้อมกันนี้ได้ประดิษฐานบาตรที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ไว้ในสถูปแห่งนี้ สถูปแห่งนี้นามว่า “พระมหาสถูปแห่งเกสเรีย (Kesaria Stupa)”
✥เวลา 18:00 น. ถึงวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์, รับประทานอาหาร/รับน้ำปานะ
- เช็คอิน, ร่วมทอดผ้าป่าชำระหนี้สงฆ์ ถวายสังฆทาน, พักผ่อนตามอัธยาศัย
- กุมภาพันธ์ 2568 กุสินารา – มหาปรินิพพานสถูป – มกุฏพันธนเจดีย์
✥เวลา 06:00 น. รับประทานอาหารเช้า, เก็บสัมภาระ เตรียมตัวเช็คเอาท์ ✥เวลา 07:00 น. เดินทางไปนมัสการ พระพุทธรูปปางปรินิพพาน ณ วิหารปรินิพพาน
- *** พุทธศาสนิกชนนิยมทำพิธีถวายผ้าที่จะห่มถวายพระพุทธปรินิพพาน ณ วิหารปรินิพพาน
พระพุทธปรินิพพาน เป็นพระพุทธรูปที่เป็นศิลปะในสมัยคุปตะ (พุทธศักราช 823 – 1093) โดยช่างฝีมือชาวมธุรา ที่มีขนาดความยาวประมาณ 7 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นจุณศิลา ที่ทำจากทรายแดงของเมืองจุนนะ เดิมในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินารา นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมัลละ ซึ่งเป็นสถานที่ ตั้งของสาลวโนทยาน หรือป่าสาละ แห่งแคว้นมัลละในสมัยพุทธกาล
*** จากนั้นนำท่านสักการะมกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ทำพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
มกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ทำพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ซึ่งมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่ารามภาร์-กา-ฎีลา อยู่ห่างจากที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน ประมาณ 1 กิโลเมตร
✥เวลา 11:00 น. เดินทางไปเมืองพาราณสี (ใช้เวลา 6 ชั่วโมง *รับประทานอาหารเที่ยงบนรถ)
✥เวลา 17:30 น. เดินทางถึงท่านะโม ฆาต เพื่อล่องเรือชมวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำคงคายามค่ำคืน และชมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ริมแม่น้ำคงคา สายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ที่หล่อเลี้ยงชาวอินเดียมาแต่โบราณกาล
ร่วมอธิษฐานลอยประทีปบูชารอยพระพุทธบาทและพระบรมสารีริกธาตุ
แม่น้ำ คือแม่คงคา แต่คนอินเดียเรียกว่าแม่น้ำกังกา เป็นแม่น้ำ มาจากสรวงสวรรค์ที่ผ่านทางมวยผมของพระศิวะ ตามคำของคงคาเทพธิดา ซึ่งเป็นลูกสาวของหิมวัตราชา เพราะกระแสน้ำแรงมาก โลกไม่สามารถรองรับได้ คัมภีร์ปูราณะได้กล่าวว่า พระเจ้าสาคร มี พระมเหสีเอกมีพระโอรสเป็นน้ำ เต้าทองถึงหกหมื่น มีนิสัยเกเรพาลไปทั่ว พระเจ้าสาครทำ พิธีอัศวเมธ (บูชาม้า) บางครั้งม้าได้สูญหาย จึงให้พระโอรสหกหมื่นออกติดตาม ปรากฏว่า โอรสระรานผู้คนจนสร้างความ เดือดร้อน วันหนึ่งได้เจอหลุมเข้าไปพบฤาษีกบิล ซึ่งมีม้าอุปการอยู่ข้างๆ ได้กล่าว วาจาหมิ่น ท่านฤาษีลืมตาเปลวไฟจากนัยตาได้เผาเป็นเถ้าถ่าน ฤาษีบอกว่า ถ้าอยากให้โอรสได้ขึ้นสวรรค์ ต้องเอาน้ำคงคาจากสวรรค์มาชำระล้างเถ้าถ่าน บาปจึงหมดหายไป จริงๆ แล้วแม่น้ำคงคามีจุดกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัย มีความยาวประมาณ 2,500 กิโลเมตรไหลไปจนถึงปากอ่าวเบงกอล
✥เวลา 20:00 น. ถึงวัดไทยสารนาถ เช็คอิน
- รับประทานอาหารเย็น/รับน้ำปานะ, พักผ่อนตามอัธยาศัย
สารนาถ ซึ่งอยู่ในขตเมืองพาราณสี ในอดีตสถานที่แห่งนี้คือ “ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน” อันเป็น สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แก่ปัญจวคีย์ทั้ง 5 และเป็นสถานที่ เกิดพระรัตนตรัยครบ 3 องค์ คือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ พร้อมนำท่านเยี่ยมชม เจาขัณฑีสถูป เป็นอนุสรณ์สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบกับปัญจวคีย์ทั้ง 5 เมื่อเสด็จมโปรด หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้ เพียง 2 เดือนเยี่ยมชม พระมูลคันธกุฎี กุฏิของพระพุทธเจ้า ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโศกมหาราชพร้อมปรากฏ เสาอโศกในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมนำท่าน นมัสการ ธัมเมกขสถูป เป็นสถูปที่สร้างเพื่ออุทิศ แด่พระอัญญาโกณฑัญญะ และนำท่านสักการะ ธัมมราชิกสถูป เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ในช่วงฤดูฝนแรกหลังจากทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
5 กุมภาพันธ์ 2568 พาราณสี – พุทธคยา
✥เวลา 06:00 น. รับประทานอาหารเช้า, ร่วมทอดผ้าป่าชำระหนี้สงฆ์ ถวายสังฆทาน
✥เวลา 07:00 น. เดินทางไป “ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน” อันเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แก่ปัญจวคีย์ทั้ง 5 และเป็นสถานที่ เกิดพระรัตนตรัยครบ 3 องค์ คือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ร่วมสาธยายบทพระธัมมจักกัปวัตตนสูตร
- สักการะพระมูลคันธกุฎี กุฏิของพระพุทธเจ้า
- เดินทางสู่ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดของกรมโบราณคดีอินเดีย
- เยี่ยมชม สักการะ เจาขัณฑีสถูป
✥เวลา 11:00 น. รับประทานอาหารเที่ยง ณ วัดไทยสารนาถ, เก็บสัมภาระ เช็คเอาท์
✥เวลา 13:00 น., เดินทางไปยังเมืองพุทธคยา (ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง)
✥เวลา 19:00 น. ถึงที่พัก เช็คอิน, รับประทานอาหารเย็น
6 กุมภาพันธ์ 2568 พุทธคยา – ถวายข้าวมธุปายาส – ดงคสิริ – วัดนานาชาติ – จุดประทีป
✥เวลา 06:00 น. รับประทานอาหารเช้า เดินทางสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์
✥เวลา 08:30 น. ร่วมพิธีถวายข้าวมธุปายาส โปรยดอกไม้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ห่มผ้าพระพุทธเมตตา
✥เวลา 10:00 น. ชมวัดนานาชาติ
✥เวลา 11:30 น. รับประทานอาหารเที่ยง
✥เวลา 13:00 น. ออกเดินทาง เยี่ยมชม ถ้ำดงคศิริ สถานที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา 6 ปี
“ดงคสิริ” หรือตุงคสิริ หรือทุกรกิริยาบรรพต สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คำว่าบำเพ็ญทุกรกิริยา แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “การกระทำที่ทำได้ยาก” ที่เน้นไปทางการทรมานร่างกายเสียส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ห่างจากพระมหาเจดีย์พุทธคยาหรือพระมหาโพธิเจดีย์ ไปประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ระหว่างหลักไมล์ที่ 4 จากเมืองคยา ต้องข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปไกลพอสมควร ปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในสมัยพุทธกาล เป็นสถานที่ตั้งอาศรมเดิมของพระอุรุเวลกัสสปะ อดีตพี่ชายใหญ่ในชฎิล ๓ พี่น้อง ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากพระมหาเจดีย์พุทธคยาหรือพระมหาโพธิเจดีย์ ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และมีบ่อน้ำเก่าแก่เป็นอนุสรณ์
✥เวลา 17:00 น. รับประทานอาหารเย็น
✥เวลา 18:30 น. ออกเดินทาง ไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์
- แนะนำการจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา รับพรสิริมงคลความรุ่งโรจน์สว่างไสว อธิษฐานขอความสำเร็จแก่ชีวิต
7 กุมภาพันธ์ 2568 พุทธคยา ประเทศไทย
✥เวลา 06:00 น. รับประทานอาหารเช้า ร่วมทอดผาป่าชำระหนี้สงฆ์ ถวายสังฆทาน
✥เวลา 10:00 น. เก็บสัมภาระ เตรียมตัวเช็คเอาท์, เดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติคยา
✥เวลา 13:40 น. เหินฟ้ากลับสู่ ประเทศไทย โดยสายการบิน Thai Airways TG 328
(ใช้เวลาบินประมาณ 3 ชั่วโมง)
✥เวลา 18:15 น. ถึงท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยสวัสดิภาพ
หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
by Unique Tour ใบอนุญาต เลขที่ 11/12106
(ผู้จัด ; คุณโจ้-นิพล 089 700 1411)