หลายครั้งที่เรารู้สึกว่าการศึกษาไทยย่ำอยู่กับที่ ทั้งที่จริงแล้ว ทุกอย่างเป็นโครงสร้างที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง เพียงแต่ “เห็นผล” หรือ “ได้ผล” แค่ไหน ขึ้นอยู่กับมุมมองและข้อมูลที่ได้รับ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ภายในงานเสวนา “การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21” โดย มหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 จ.ร้อยเอ็ด วิทยากร ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ทัศนะที่น่าสนใจ ดังนี้
โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบการศึกษาท้องถิ่น ปรับตัวรับมืออย่างไร ???
ในฐานะ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่กำหนดคุณภาพการศึกษาที่เรากำหนดให้ เน้นคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน แต่เราต้องรู้ก่อนว่า ในศตวรรษที่ 21 จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่ 1 คนจะรู้หนังสือมากขึ้น 2 จำนวนคนเรียนสูงจะมากขึ้น แต่การเรียนสูงไม่ได้บ่งบอกว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต เราผลิตเด็ก แต่เด็กที่เราผลิต มีทักษะการทำงานไม่เป็นไปตามที่เขาอยากได้ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องการให้คนเรียนสูงเยอะขึ้น 3 รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในวงการการศึกษา คนของเราเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ผ่านสื่อออนไลน์ผ่าน 5 จี แต่สิ่งที่สำคัญสื่อเหล่นี้เด็กเราใช้เพื่อพัฒนาการเยนรู้ตัวเองได้แค่ไหน และต้องเรียนรู้อย่างถูกวิธี 4 เรียนรู้ตลอดเวลา ฯลฯ
ในมุมมองผมเราจะปั้นเด็กไปแบบไหน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำกับติดตามเด็กไปตามนโยบาย คุณลักษณะของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 สิ่งแรกที่เราอยากเห็นคือ
- 1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์
- 2 มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยให้คล่องในระดับอนุบาล
- 3 มีความสามารถด้านเทคโนโลยียีดิจิตอล เราต้องการอุปกรณ์ที่เข้าถึง
- 4 มีความสามารถในการเรียนรู้ไผ่รู้พัฒนาตนเอง แม้สื่อดีถ้าไม่สร้างอุปนินิสัยเรียนรู้เพื่อการพัฒนา สมรรถนะของเด็กต้องดี
- 5 ความมุ่งมั่นมานะะอดทนเป็นตัวของตัวเอง ภารกิจหลักมีคาวามคิดอ่านด้วยเหตุผล ไม่ชักจูงได้ง่าย สู่พลเมืองที่เข้มแข็ง ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดี
- 6 มีจิตสาธารณะ ต้องถูกฝึก ร.10 พยายามให้คนไทยปลูกฝังจิตอาสามาตลอด
- 7 อยากเห็นคนไทยเป็นคนดี มีคุณธรรม และจริยธรรม
- 8 อยากเห็นเด็กถูกฝึกทักษะแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เด็กจะรู้ว่าอะไรควรปรับปรุงแก้ไข
- 9 เด็กไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ อนาคตเด็กควรมีการสอนอาชีวะในสพฐ เรามีโครงการสอนอาชีวะในกรมสามัญ ถ้าเราผนวกกัน เมื่อเด็กจบแล้วมีอาชีพ ต้องสอนในเชิงสมรรถนะ
- 10 อย่าทิ้งอัตลักษณ์ความเป็นไทย เราต้องปลูกฝังให้เด็กไทยรักความเป็นไทย อันนี้สำคัญ เราคอยส่งเสริมกำกับติดตาม มาตรฐานว่าการศึกษาธิการมอบหมาย คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถปฏิบัติได้ หรือปลูกฝังให้เด็กไทย เช่น ว่ายน้ำเป็นเพื่อลดการสูญเสียชีวิตในช่วงปิดภาคเรียน และควรผลักดันเป็นนโยบายด้านการศึกษาให้ได้
ฟังคลิปงานเสวนาเพิ่มเติม