ครบรอบ 15 ปี วิทยาลัยนานาชาติ ม.ศิลปากร สะท้อนผลงาน เชิดชูศาสตร์พระราชา

บันทึกเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙  ประทานสัมภาษณ์นักข่าวต่างประเทศ ณ เลอฟลอนอาเล่  เมืองโลซาน สวิสเซอร์แลนด์ มีคำถามหนึ่งว่า  ไทย แปลว่า อิสระภาพ กรุงเทพฯ แปลว่า เมืองแห่งเทวดา ประเทศของท่านทำเช่นไร จึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทั้งๆ ที่ถูกล้อมไปด้วยประเทศต่างๆ ที่สภาวะการเมืองไม่สงบ

 “เพราะว่าเรารักษาขนบธรรมเนียมประเพณี เราพยายามรวมชาติเป็นหนึ่ง ให้ประชาชนได้มีอะไรยึดเหนี่ยวจิตใจ นอกจากนั้นเรายังมีศาสนาที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสำคัญมาก” 

การเสด็จประพาส 14 ประเทศ ได้เรียนรู้ระบบอะไรมากมายและคาดว่านำสิ่งใดไปปรับใช้? “ทุกอย่างที่ดีต่อประเทศเรานำมาใช้หมด แต่ต้องประยุกต์ใช้ให้กับสภาพสังคม สถาบัน วัฒนธรรมของเรา จุดมุ่งหมายอย่างเป็นทางการของเราไม่ได้มาเพื่อทำภารกิจหรือศึกษาอะไรบางอย่าง แต่เป็นการมาเพื่อนำมาเพื่อแสดงความยินดี ปรถนาดี ในนามปวงชนชาวไทย เพื่อสัมพันธภาพประเทศของผมและทุกประเทศที่เดินทางไป”

การเป็นพระราชา เริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร? “ผมก็ตื่นสิครับ เพื่อจะบอก ในหนึ่งวันทั่วไปนั้น เป็นสิ่งที่ยากต่อการอธิบายมากเพราะทุกวันต่างกัน แต่ผมมีหลักการใช้ชีวิตคือไม่ให้มีกิจวัตรเหมือนกันทุกวัน”

น้อมศิระกราน กราบแทบพระยุคลบาท

 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

 

พระราชอารมณ์ขัน, การไม่หยุดที่จะเรียนรู้ รวมถึงพระปรีชาสามารถในทฤษฎีต่างๆ  นำมาซึ่งแนวคิดในการจัดงานครบรอบ 15 ปี  วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร  โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพิศ ขัตติยพิกุล คณบดี จัดการประชุมวิชาการและการแสดงนิทรรศการที่สอดคล้องขึ้น ภายใต้ชื่อ SUIC’s 15th  International Conference  and Exhibition:  The Integration of Art, Creativity and Management เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ, เผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานสร้างสรรค์ รวมทั้งขอบคุณสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างประเทศที่ตลอดระยะเวลา 15 ปี ร่วมกันสร้างบัณฑิตชั้นนำ หลักสูตรสองปริญญาของไทยจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  (วันที่ 19 ตุลาคม 2560 ณ อาคารไปรษณีย์ไทย บางรัก ห้องไปรษณีย์ฤดีสราญ)

ภายในงานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รัมนตรีว่ากวัรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์  เป็นประธานเปิดงาน พร้อมบรรยายหัวข้อ การพัฒนาศิลปวัฒนธรรมสู่สากล  เป็นแนวทางให้วิทยาลัยนานาชาติ  ม.ศิลปากร และบัณฑิต ได้ยึดถือและปฏิบัติ  โอกาสนี้   Mr. Alain Sebban ผู้ก่อตั้งสถาบันวาแตล จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส, Professor David Roberts, Pro Vice Chancellor and Dean of the Faculty of the Arts, Design and Media Birmingham City University  สหราชอาณาจักร  ร่วมแสดงความยินดี 15 ปีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมพันธสัญญาถึงก้าวต่อไป ที่จะเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในหลักสูตรสองปริญญา  เพื่อสร้างโอกาสการทำงานระดับสากลให้กับบัณฑิต

หัวใจของหลักสูตรของวิทยาลัยนานาชาติศิลปากร  เราเน้นที่หลักสูตรที่เรียนจบแล้วได้สองปริญญามาตลอดและเน้นการฝึกปฏิบัติและการฝึกงานในต่างประเทศ ที่ทำให้เราโดดเด่นอันเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ  ซึ่งในวิทยาลัยนานาชาตินั้น เด็กที่เข้ามาเรียนจะได้ สองปริญญา  ปริญญาแรก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาที่สองจากสถาบันต่างประเทศที่เราร่วมมือด้วย เช่น Vatel International Business School, Rennes School of Business, Paris School of Business ประเทศฝรั่งเศส และ Birminham City University ประเทศ อังกฤษ พร้อมเปิดโอกาสให้นักศึกษาไปเรียนในต่างแดนและมีประสบการณ์ในต่างประเทศ”  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพิศ ขัตติยพิกุล คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร  กล่าวปิดท้าย

พร้อมนำเสนอสุดยอดผลงานที่ภาคภูมิใจได้แก่  นิทรรศการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ ๙   ผ่านการจัดแสดงพระราชกรณียกิจที่สำคัญ บทกลอนภาษาฝรั่งเศส ภาพวาดในหลวงรัชกาลที่ ๙  วีดีโอเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตรัสถึงเรื่องสังคม, การศึกษา, ปรัชญาและเศรษฐกิจพอเพียง สะท้อนถึงอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน ที่เน้นการพัฒนาบุคคลรวมทั้งสังคมอย่างยั่งยืน โดย Mr. Alain Sebban ผู้ก่อตั้งสถาบันวาแตล จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส เผยว่า วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม รวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นที่สนใจจากนักท่องเที่ยว ล้วนต้องการมาเรียนรู้ เป็นเสน่ห์มัดใจที่มีเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น”

น่าเสียดายที่นิทรรศการดังกล่าวมีเพียง 2  วัน ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถชมภาพเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.suic.org