เทคนิคทำสตอรี่บอร์ด สร้าง “วินาทีทองคำ” พิิชิติเงินรางวัลหนังสั้น

 

นาทีนี้มองไปทางไหนก็มีแต่ข่าวกิจกรรมประกวดหนังสั้น นับเป็นโอกาสที่ดีของคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีเวทีให้ฝึกฝีมือ ได้เงินรางวัล ที่สำคัญยังได้ประสบการณ์ เอามาประดับโปรไฟล์ต่อยอดความฝันของตัวเองรวมไปถึงโอกาสในการทำงานในวงการหนังสั้นภาพยนตร์

ยิ่งหากเป็นคนมีพรสวรรค์ โอกาสในการ “หาเงิน” สร้างรายได้พิเศษเพื่อเป็นทุนการศึกษามาถึงแล้ว เพราะเงินรางวัลจากการประกวดหนังสั้นในเวทีต่างๆ มีตั้งแต่หลักหมื่นไปถึงแสน แต่ละเดือนหากติดตามข่าวสาร มีเวทีจากสปอนเซอร์ผู้ใหญ่ใจดีคอยสนับสนุนกิจกรรมประกวดหนังสั้น ซึ่งหากพิจารณาเงื่อนไขการแข่งขันโดยละเอียด แต่ละราย ไม่ได้ต้องการความเนี๊ยบ พิถีพิถัน ความเป็นมืออาชีพ หากแต่จุดประสงค์หลักที่ซ่อนไว้เพียงเพราะอยาก “ให้” อยากพัฒนาทักษะฝีมือคนรุ่นใหม่ รวมไปถึงเสริมสร้างแนวคิดต่างๆ ที่ถูกต้อง

หลายเจ้าไปเคาะประตูถึงหน้าบ้านติดประกาศในบอร์ดมหาวิทยาลัย  ฉะนั้นใครที่รักสายนี้ ห้ามพลาดที่จะฝึกฝนตัวเอง หาความรู้นอกห้องเรียนจากการเข้าร่วมประกวดโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น รางวัลจะเป็นตัวการันตีความเจ๋งของเราพร้อมด้วยประสบการณ์  แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจ ว่าหนังสั้นทำอย่างไร ล่าสุดมีการจัดเวิร์กชอป ซึ่งคัดเอานักศึกษาคนรุ่นใหม่ที่ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายจากกิจกรรม Umay+ MONEY FITNESS การประกวดสตอรี่บอร์ด เพื่อนำไปผลิตหนังสั้นภายใต้หัวข้อ “โลกเปลี่ยนไป ต้องวางแผนการเงินยังไง รู้ยัง?” มาร่วมอบรมด้านครีเอทีฟและการเขียนบทจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของเมืองไทย  ก่อนจะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผลงานตัวเองกลับมานำเสนออีกครั้งเพื่อเฟ้นหาทีมผู้ชนะ คว้าเงินรางวัลกว่า 150,000 บาท พร้อมเข้าร่วมงานผลิตหนังสั้นของตนเองร่วมกับโปรดักชั่นเฮ้าส์ชื่อดัง สร้างประสบการณ์สุดพิเศษที่หาจากที่ไหนไม่ได้อีกด้วย

ช่วงเสวนาเชิญ ครีเอทีฟ ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ อาทิ คุณอู๋ วีรยุทธ ล้อทองพานิชย์ คุณกอล์ฟ จิรายุ อาจสำอางค์, คุณเสือ          พิชย  จรัสบุญประชา c]t คุณตือ ศิวกร จารุพงศา มาให้ความรู้แบบไม่อั้น ข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ เราสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ ลองมาดูกัน

สตอรี่บอร์ดคืออะไร ? จุดเริ่มต้นของหนังสั้น ช่องความคิดที่จะถ่ายทอด ดูไอเดีย ดูภาพรวมกันก่อน จากแผ่นกระดาษ คุยให้จบก่อนเริ่มถ่ายทำ เป็นเสมือนแนวทางให้ทุกคน ทุกฝ่าย ได้รับรู้ว่าเราจะทำอะไร เรื่องอะไร ให้ได้เห็นภาพกว้างๆ ก่อนถ่ายทำจริงด้วย เพราะฉะนั้นขั้นตอนนี้ สำคัญมาก ผ่านไม่ผ่าน แล้วจะเรียกเงินได้เท่าไหร่  ก็อยู่ที่กระดาษแผ่นนี้แผ่นเดียว  ปัจจุบันก่อนทำหนังสั้น ไม่ใช่ดุ่ยๆ ไปถ่าย ยังไงก็ต้องทำสตอรี่บอร์ดก่อนเป็นลำดับแรก

การเขียนบท   เริ่มจาก 1. ทัศนคติ คือ การแสดงความชอบหรือไม่ชอบต่อบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทัศนคติสามารถสร้างขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบันของบุคคลหนึ่งๆ  เราสนใจอะไร ต่อคน ต่อสังคม ต่อวัฒนธรรม  2. ตอบตัวเองให้ได้ว่าเราจะเขียนเรื่องนี้เพื่ออะไร 3. พาคนดูไปเจออะไร เขียนเพื่อส่งผลอย่างไร

การหาไอเดีย  ลองเริ่มหาไอเดีย เรื่องที่เจอกับตัวเอง เรื่องของเพื่อน เรื่องราวในโซเชี่ยล เมื่อได้ไอเดียมาแล้วหาใจความที่จะเล่า ยึดไว้ให้แน่น เหมือนปลายทางที่ต้องไปให้ถึง หลังจากนั้นทำซีนทุกซีนเพื่อประกอบกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล บทที่ดีต้องมี drive ของตัวละครชัดเจน เพราะเป็นแรงขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย เมื่อมีเส้นหลักคือตัวละครและเป้าหมายของเขาแล้ว การดำเนินเรื่องมีสิ่งที่จะมาขัดขวางหรือ conflict  อย่างไร ไม่ให้ตัวละครบรรลุ drive ตัวเขาได้ ส่วนใหญ่คนจะติดตามจากเรื่องนี้

องค์ประกอบ    เรื่อง (Story) แนวความคิด (concept) แก่นเรื่อง (Theme) โครงเรื่อง (Treatment)  แน่นอนว่าคิดมาครั้งแรก ไม่ดีแน่ ต้องต่อเติมเสริมแต่ง หลายคนพังตรงนี้ มีท้อ มีคิดไม่ออก มีกลัว มีเท แต่ทุกการประกวด สำคัญว่าต้องทำให้เสร็จ คุณทำไม่เสร็จ ก็ไม่มีผลงาน และอย่าทำ เพราะชีวิตจริง คุณทำงานไม่เสร็จ คือคุณไม่รับผิดชอบ ต้องเอาชนะตัวเองให้ได้

 

ข้อควรระวังสำหรับการทำสตอรี่บอร์ดหนังสั้น   คือ ระวังจมอยู่กับความคิดเดิมๆ  อย่ากลัวการคิดไม่ออก กล้าๆ ปล่อยบทไปสู่สายตาคนอื่น อย่ากลัวถ้าต้องแก้ อย่าหวงถ้าต้องตัด “งานดีแล้ว” คือ ความคิดฝังหัว ที่ต้องจำกัดสำหรับคนที่จะเป็นครีเอทีฟ  ทุกงานตั้งอยู่บนโจทย์อยู่แล้ว ถ้าหลายคนพูดเหมือนกันหมด แสดงว่าเรามีจุดรั่วที่ต้องปรับปรุงแก้ไข แต่ยังไงก็อย่าให้เสียจุดยืนของตัวเอง

นี่เป็นเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับไว้เป็นแนวทางในการพัฒนางานและประกวดชิงรางวัลกันต่อไป ทั้งนี้สามารถเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ ผู้ผ่านเข้ารอบ  รวมถึงติดตามผลงานชนะเลิศ ในรอบตัดสินและมอบรางวัล วันที่ 28 พ.ค. 62 ณ ห้องเธียเตอร์ ชั้น 3 อาคาร11 ม.ศรีปทุม บางเขน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม  www.umayplusmoneyfitness.com เฟสบุ๊ค I love EASY BUY  

สำหรับในปีนี้มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 170 ทีม และรายชื่อ 10 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบ ได้แก่ ทีมแซลมอน ม.กรุงเทพ ชื่อผลงานถังแตก / ทีมFour Eye ม.กรุงเทพ ชื่อผลงาน Gamer / ทีมเขี้ยวกุด ม.กรุงเทพ ชื่อผลงาน Relationship / ทีมผังผัง ทีเอ็ม ม.กรุงเทพ ชื่อผลงาน น้ำตาไก่ชน / ทีมหมั่งสีโสว ม.ศิลปากร ชื่อผลงาน โจร 400 / ทีมTitan ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ชื่อผลงาน Survival / ทีมUMU ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ชื่อผลงาน ชีวิตนักสะสม / ทีมThe 88 ม.นเรศวร ชื่อผลงาน Start / ทีมแถ่นแท๊นนน ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด ชื่อผลงาน ไหทองใบ / ทีมลงมือทำ ม.มหาสารคาม ชื่อผลงานสมใจปรารถนา