กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงจัดกิจกรรมแถลงความร่วมมือการรับมือกับข่าวปลอม (Fake News) เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนัก เรื่องพิษภัยและผลกระทบ เพื่อให้ประชาชนสามารถแยกแยะ ตรวจสอบข่าวปลอมได้ รวมถึงส่งเสริมความรู้และความตระหนักในปัญหาข่าวปลอมสำหรับประชาชนทั่วไป ภายในงานมี ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิด “แสดงความร่วมมือในการรับมือกับข่าวปลอม Fake News” ร่วมด้วย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการเสวนาระดมความคิดในประเด็นการรับมือกับข่าวปลอ (Fake News) ดำเนินรายการโดย นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ มีผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต, คุณตรี บุญเจือ, คุณนันทรัศมิ์ เทพดลไชย ฯลฯ นอกจากนี้ยังขอเชิญทุกท่านร่วมฟังภาคีเครือข่ายแนะนำโครงการที่ร่วมขับเคลื่อนประเด็นข่าวปลอม (Fake News) กว่าสิบโครงการฯ คาดหวังเยาวชนและประชาชนเกิดองค์คงามรู้ในการรับข่าวลวง เมื่อเร็วๆ นี้ (ณ M Space ชั้น 3 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เวลา 13.00-16.00 น.)
ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้สัมภาษณ์ “ในปัจจุบันโซเซียลมีเดียได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายข่าวปลอมหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังทวีความรุนแรงได้มากพอที่จะส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงในระดับประเทศ ซึ่งมีการวิจัยของ มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ว่าการแพร่กระจายของข่าวปลอมในโซเชียลมีเดีย รวดเร็วถึง 6 เท่า จากการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วของข่าว”
“กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีการสนับสนุนโครงการที่เข้าร่วมขับเลื่อนประเด็นข่าวปลอม ดังนี้ 1. โครงการฐานข้อมูลต้นแบบเพื่อรับมือกับข่าวปลอม 2. โครงการผลิต 4 ภาพยนตร์สั้นส่งเสริมความเข้าใจและตีแผ่ภัยรู้เท่าทันสื่อยุคปัจจุบัน 3. โครงการเช็ก ชัวร์ แชร์ 4. โครงการเครือข่ายพระสงฆ์เฝ้าระวังสื่อชวนเชื่อทางศาสนา 5. ภาพยนตร์ชุด เรื่อง บางกอก ซีโร่ 6. โครงการ ข่าวจริงป่ะ 7. โครงการ การพัฒนาเกมสืบสวนและเกมโชว์ออนไลน์เพื่อการรับมือกับข่าวปลอมสำหรับประชาชนทั่วไป 8. โครงการ Fake News Fighter : การสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างองค์ความรู้และกลไกในการแก้ปัญหาข่าวปลอม 9. โครงการ Check ก่อน Share วัยรุ่นยุคใหม่ รู้จริง ไม่มี Fake 10. โครงการพัฒนาการตรวจจับข่าวปลอมโดยการเรียนรู้ของเครื่องและการตรวจสอบข้อเท็จจริงของประชาชน 11. โครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม”
อนึ่ง ทั้งนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยว่า ในการศึกษาเรื่องของการแพร่กระจายของข่าวปลอมในโซเชียลมีเดียของมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ซึ่งเป็นการวิจัยการแพร่กระจายของข่าวปลอมในโซเชียลมีเดีย มีผลการศึกษาที่บ่งบอกว่าข่าวปลอมถูกแบ่งปันมากกว่าข่าวจริงและแพร่กระจายได้เร็วกว่าถึง 6 เท่า จากการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วของข่าวปลอมนี้เอง ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ ระงับข่าว และแก้ไข ซึ่งส่งผลเสียอย่างมหาศาลตามมาในภายหลัง การแพร่กระจายอย่างรวเร็วของข้อมูลเท็จ ซึ่งมีกรณีเชิงประจักษ์มากมายที่สะท้อนว่า “ข้อมูลเท็จ” เหล่านั้นก่อให้เกินปัญหาตั้งแต่ระดับ ส่วนรวม ถึงระดับปัจเจก ส่งผลเสียหายระดับประเทศและประชาชนในด้านความรู้ ความคิด ความมั่นคง ไปจนถึงชื่อเสียง และอาจถึงแก่ชีวิต
และยังเป็นสิ่งสะท้อนที่ชัดเจนถึงความจำเป็นที่ประชาชนต้องมีความรู้เท่าทันสื่อในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพ สื่อด้านเศรษฐกิจ สื่อด้านสังคม หรือแม้กระทั่งสื่อด้านการเมือง “Fake News” เป็นประเภทของการสื่อสารมวลชนหรือการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่ไม่ใช่ข่าวจริง หรือเป็นข้อมูลที่หลอกลวง แพร่กระจายผ่านการพิมพ์แบบดั้งเดิม และเผยแพร่ข่าวหรือสื่อออนไลน์ทางสังคมออนไลน์ Fake News เขียนขึ้นโดยมีเจตนาที่จะหลอกลวงเพื่อสร้างความเสียหายแก่สังคม แก่หน่วยงานหรือหวังผลทางการเมือง รวมทั้งการสร้าง Fake News เพื่อเป็นการโฆษณาสินค้าและบริการแฝงไปกับข่าว เพื่อเพิ่มจำนวนผู้อ่านหรือการแชร์ออนไลน์
สามารถรับชมข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/ThaiMediaFundOfficial