นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายและทันกับสถานการณ์ในช่วงนี้ มากๆ เลย นั่นก็คือหัวข้อ Disrupting Health & Wellness Experience in COVID -19 ซึ่งโครงการ “TSX Sustainable Innovation Competition & Hackathon” หนึ่งในกิจกรรมของงาน Thailand Sustainability Expo 2021 หรือ TSX 2021 จัดขึ้นเพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมนวัตกร ที่สามารถสร้างสรรค์งานนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทางสังคม องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ อย่างยั่งยืน โดย 7 ทีม ได้ร่วมกิจกรรมกันแบบเข้มข้นมากๆ ตั้งแต่ รอบ Incubation และ Hackathon ต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง และเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ต่อหน้าคณะกรรมการ ไม่น่าเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะคิด Business Model Innovation ออกมาอย่างน่าทึ่ง มีทั้ง PULSED UVC เครื่องตรวจจับเชื้อโรคสมรรถนะสูง, Paradise Pocket Space สวนสวรรค์สรรค์สร้างเอง, NOPANIC MASK NANOFILTER ออร์แกนิกมาสค์ จากวัชพืชที่ไร้ค่า แก้ปัญหาขยะล้นโลก ฯลฯ
รางวัลที่ 1 สุดยอดนวัตกร กับ TSX Hackathon ปี 2564 ได้แก่ ทีม ATTRA โดย Business Model Innovation คือ PULSED UVC ประยุกต์มาจากอุตสาหกรรมอาหาร จากแนวคิด ปัจจุบันการแพร่ระบาดโควิด เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า มันอยู่ที่ไหน หยุดเมื่อไหร่ และเราเป็นคนแพร่เชื้อหรือเปล่า ดังจะเห็นได้ว่ามีหลายเคส ไม่ได้เป็นผู้ใกล้ชิด สัมผัสโดยตรง แต่ทั้งนี้เชื้อดังกล่าวมาถึงวัตถุ ซึ่งเชื้ออยู่บนวัตถุเจ็ดถึงแปดชั่วโมง ดังนั้นทีมจึงได้สร้างสรรค์พัฒนาระบบ PULSED UVC (ที่กระแส 2 แอมแปร์ จะได้พลังงาน 240-360 mJ./cm) โดยพลังงานดังกล่าวจะนำไปใช้ในการจุดหลอดให้ทำการฉายรังสี UVC ออกมาแบบไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป แสงไฟแฟลชที่ออกมานั้นจะทำลายโครงสร้าง DNA ของสิ่งมีชีวิตในระดับ จุลินทรีย์ ไวรัส สปอร์เชื้อราต่างๆ พร้อมเทียบเคียงประสิทธิภาพการทำลายล้าง จากการทดสอบ เครื่องนี้สามารถฆ่าเชื้อได้ 99.99 เปอร์เซ็นต์, ใช้ระยะเวลา 30-60 วินาที และใช้ต้นทุนเพียงสี่บาทต่อชั่วโมง เทียบกับประสิทธิภาพ สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ที่กังวลเรื่องความปลอดภัยในการอยู่อาศัยร่วมกัน นอกจากนั้นทีมยังรีเสิร์ชถึงข้อมูลบ้านพร้อมขายในแวดวงอสังหาฯ ที่มีอยู่กว่าแสนยูนิต ตั้งเป้าขายแค่พันยูนิต ก็สามารถทำรายได้มากมายคุ้มกับการลงทุน ยังไม่นับรวมถึงหน่วยย่อย องค์กรเอกชนต่างๆ ที่อยากติดตั้งในบริษัท อาคาร กระทั่งซื้อบริจาคติดตั้งเพื่อสังคม
รางวัลที่ 2 สุดยอดนวัตกร กับ TSX Hackathon ได้แก่ ทีม Share Care นำเสนอ Business Model Innovation คือ Paradise Pocket Space จากแนวคิดคนรุ่นใหม่ในเมืองต้องการพื้นที่สีเขียว จากการค้นคว้าพบว่ากรุงเทพฯ ของเรามีพื้นที่สีเขียว เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของโลก แม้ที่ผ่านมามีความพยายามจะเพิ่มพื้นที่แล้ว แต่ปรากฏสวนสาธารณะก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี อีกทั้งไม่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ยิ่งเกิดปัญหาโควิดทำให้กิจกรรมทางสังคมหายไป คนไม่นิยมไปรวมกลุ่มจำนวนมาก ทางทีมคิดว่าน่าจะสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่ม เน้นการมีส่วนร่วม ทุกคนเป็นเจ้าของ สามารถมารีแลกซ์จากการทำงาน สร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งพบปะกลุ่มคนที่มีแนวคิด มีไลฟ์สไตล์เหมือนกัน
นอกจากนี้ทางทีมมีการรีเสิร์ชแล้วว่า ปัญหาสุขภาพจิต ปัจจุบันทวีสูงขึ้น จากภาวะความเครียดเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่หายไป โดยทุกวันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ติดเชื้อ แต่ลุกลามไปถึงกลุ่มประชากรใหญ่ที่ไม่ได้ติดเชื้ออีกด้วย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิต มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถแก้ได้ด้วย พื้นที่สีเขียว ทั้งนี้โครงการฯ ดังกล่าว จะช่วยอุปสรรค ในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียว และดีไซน์ฟังก์ชันต่างๆ ให้ตอบโจทย์ โดยจะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ จากที่ทุกคนเข้าสวนฟรี เป็น User มาเก็บค่าบริการ แต่ทุกคนเป็นเจ้าของ เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกัน บริหารงานผ่านแอปพลิเคชันแสดงรายละเอียด แบ่งเป็น Home, Membership, Park browsing, Density checking ฯลฯ ทั้งนี้เชื่อว่า Paradise Pocket Space จะช่วยแก้ปัญหาการปล่อยพื้นที่รกร้างในเมืองหลวงไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ ซึ่งมีอีกมากมายหลายแปลง และคำนวณต้นทุนและรายได้แล้ว มีความใกล้เคียงไปจนถึงคุ้มค่ากว่าการปล่อยเช่าธรรมดา
รางวัลที่ 3 สุดยอดนวัตกร กับ TSX Hackathon ได้แก่ ทีม NOPANIC MASK NANOFILTER Business Model Innovation คือ NOPANIC MASK NANOFILTER จากแนวคิด ทุกวันนี้เวลาออกจากบ้าน สิ่งที่ติดตัวคนเราหน้ากาก ทำตกหนึ่งครั้ง ซื้อใหม่ หรือเปลี่ยนวันก็เปลี่ยนใหม่ ทำให้มีขยะติดเชื้อ เพิ่มขึ้นถึง 19,200 ล้านชิ้นต่อหนึ่งปี ทั้งนี้การย่อยสลาย ในบางประเภทอาจใช้เวลาชั่วชีวิต ทีมจึงหาทางออกว่า วิธีไหนที่เราสามารถรับมือกับเชื้อโรคได้โดยไม่สร้างขยะเพิ่ม จึงเสนอ Nopanic Mask Nano Filter ปกป้องตัวเองจากโรค ควบคู่ไปกับดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมเพราะทำจาก ผักตบชวา ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยพบว่า มันสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 0.44 ไมครอน อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาระบบชลประทานได้
นอกจากนี้จุดเด่นของ แผ่นกรองอากาศจากผักตบชวา ยังสามารถกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจากสารคัดหลั่งที่มาตกลงบนหน้ากากได้เอง, สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้, ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม, สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ มองโอกาสทางธุรกิจ ผักตบชวา หาได้ง่าย ต้นทุนต่ำ ขณะที่สินค้ามีความจำเป็นสูงขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลจาก กรมการค้าภายใน ม.ค-มี.ค. 64 ปริมาณซื้อขายต่อเดือน แบ่งเป็น หน้ากากฝุ่นที่ใช้ในอุตสาหกรรม 331 ล้านชิ้น หน้ากากการแพทย์ 120 ล้านชิ้น หน้ากากผ้า 80 ล้านชิ้น
นอกจากนี้ทางทีมมีแผนต่อยอด โดยนำสารสกัดจากสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีสรรพคุณ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ไวรัส แบคทีเรีย มาเป็นส่วนผสมให้เข้ากับสถานการณ์ตอนนั้นๆ โดยคาดหวังว่า แผ่นออร์แกนิก มาสค์ นี้ จะช่วยแก้ปัญหาอนาคต เชื้อโรคอบุัติใหม่ และไม่สร้างขยะ ให้เป็นภาระคนรุ่นหลัง นอกจากนี้ยังเพิ่มมูลค่า ให้เส้นใยจากวัชพืชไร้ค่า สามารถสร้างมูลค่าและเกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเศรษฐกิจอีกด้วย
ด้านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1. ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานกลยุทธ์และบริหารความยั่งยืนขององค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2. คุณชวาทิก วินน์ วนาเกษมสันต์ Head of Wellness Living &Asset Management Thai Group Holding Public Company Limited Southeast Insurance & Finance Group 3. รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. คุณมาริสรา ศัตรูลี้ ASEAN Knowledge Community Management Manager C asean 5. คุณเมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ CEO & Co-Founder BASE Playhouse เกณฑ์การให้คะแนนของคณะกรรมการมีทั้งสิ้น 4 ข้อ 1) ความสามารถในการวิเคราะห์และระบุปัญหา 2) ความเป็นนวัตกรรมของไอเดีย และความสมบูรณ์ Prototype 3) ความสามารถในการเปลี่ยนเป็นธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนให้นวัตกรรม 4) ความสามารถของทีม และความสามารถในการนำเสนอ
ท้ายสุด สำหรับงาน Thailand Sustainability Expo 2021 ร่วมกับ CU Innovation Hub และ ThaiBev จัดโครงการ “TSX Sustainable Innovation Competition & Hackathon” ได้รับความร่วมมือ
และการสนับสนุนจากองค์กรและหน่วยงานต่างๆ มากมายเลยที่ให้ความสำคัญกับงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน โดยคณะกรรมการจะได้ร่วมกันพิจารณาตัดสิน 3 รางวัล เป็น สุดยอดนวัตกร กับ TSX Hackathon รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท