นายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) นำคณะผู้บริหาร เข้าประชุมหารือนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมผู้แทนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (อบจ.) สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (สทท.) สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย (อบต.) เพื่อส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนช่วย
ลดโลกร้อนตามนโยบายภาครัฐ ด้วยการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกทุกงานก่อสร้าง ตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและ
ผังเมือง พร้อมตอกย้ำความพร้อมของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ รวมทั้งเร่งนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (Low Carbon Cement) เข้าแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั้งหมดโดยเร็ว เพื่อร่วมกันลดโลกร้อน สนับสนุนยกระดับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยมุ่งสู่ Thailand Net Zero
นายชนะฯ กล่าว่า “การประชุมหารือในวันนี้ เป็นการขับเคลื่อนสำคัญของกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานในสังกัด ที่ให้ความสำคัญต่อการลดก๊าซเรือนกระจกสาเหตุการเกิดโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน ภายหลังจากที่กระทรวงฯ ได้สนับสนุนร่วมประกาศ ‘MISSION 2023’ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ผนึก 25 ภาคีร่วมดำเนินการ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อย 1,000,000 ตัน CO2 ในปี พ.ศ. 2566
TCMA ขอบคุณกระทรวงมหาดไทย และกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่สนับสนุนร่วมดำเนินงานลด
ก๊าซเรือนกระจก ในสาขากระบวนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ มาอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ผ่านมา กรมโยธาธิการฯ
ได้ปรับปรุงมาตรฐานวิศวกรรมงานก่อสร้าง มยผ. 1101-2564 ถึง มยผ. 1106-2564 ให้สามารถใช้วัสดุก่อสร้าง ประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน ในงานโครงสร้างอาคารได้แล้ว
สำหรับวันนี้มีความก้าวหน้าในความร่วมมือดำเนินการขับเคลื่อน ‘MISSION 2023’ เป็นอย่างมาก ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากกระทรวงมหาดไทย ผนึกกำลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งสมาคมองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (อบจ.) สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (สทท.) สมาคมองค์การ-บริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย (อบต.) โดยความร่วมมือของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตอบรับนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน ไปใช้ในทุกโครงการก่อสร้าง ตามมาตรฐานกรมโยธาธิการฯ แทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 1,000,000 ตัน CO2 ในปี พ.ศ. 2566
นายชนะฯ กล่าวย้ำว่า “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” ถูกพัฒนามาเพื่อใช้แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยกระบวนการผลิตช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญ มีคุณลักษณะตาม มอก. 2594 จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้รับการรับรองสินค้าเป็นที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand: MiT) โดยผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทุกรายมีความพร้อมในการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน
ให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโดยง่ายทั่วประเทศ