สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024: Sasin IEW พร้อมเวทีแสดงวิสัยทัศน์จาก 4 ผู้เชี่ยวชาญ ชูกิจกรรมหลักระดับโลกในงาน ทั้งเวทีแข่งขันด้านธุรกิจระดับนิสิตนักศึกษา เสวนา และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการเป็นผู้ประกอบ GCEC “New Frontier: Bangkok Summit 2024” ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นครั้งแรกในทวีปเอเชีย กิจกรรมทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19-23 มิถุนายน 2567
นายดิเบียนดู โบส (Dibyendu Bose) รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรมและการพัฒนาของสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ ให้เกียรติกล่าวเปิดงานแถลงข่าวในครั้งนี้ว่า
“Sasin IEW เป็นการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ นักลงทุน นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบายและประชาชานทั่วไปที่ต้องการผลักดันนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน”
ขณะที่ นายลาร์ส สเวนสัน (Lars Svensson) ผู้บริหารศูนย์จัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการแห่งศศินทร์ เสริมว่า “เป้าหมายของ Sasin IEW คือการจุดประกายหารือพหุภาคีว่าด้วยบทบาทของผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวก นี่เป็นครั้งแรกที่เราผสานกิจกรรมหลัก 3 อย่างด้านการเป็นผู้ประกอบการเข้าไว้ด้วยกันภายใต้ปรัชญาของความยั่งยืน” นอกจากนี้ยังมีการประกาศความร่วมมือระหว่างศศินทร์กับ The Global Consortium of Entrepreneurship Centers (GCEC) และโรงเรียนมีชัยพัฒนา
ครึ่งหลังของงานแถลงข่าวเป็นการเปิดเสวนาอุ่นเครื่องรับสัปดาห์ Sasin IEW โดยผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่านในหัวข้อ “Thailand Showcase” ประกอบด้วย นายลาร์ส สเวนสัน (Lars Svensson) จากสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์
รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร. จิตติมา ลัคนากุล ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิรัชกิจ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรณ สำลีรัตน์ คาร์ราเวย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำศูนย์ยูนุสเซ็นเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย นายสุกิจ อุทินทุ ผู้อำนวยการคนแรกขององค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (SEAMEO SEPS) และคอลัมนิสต์ด้านความยั่งยืนของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ นายวสุ ศรีวิภา หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์ผลกระทบของสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และรองประธาน UN PRME Chapter ASEAN + Chapter และนางสาวแพร ภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์จัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์
สำหรับกิจกรรมหลักสามอย่างในสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024: Sasin IEW ที่จะเกิดขึ้นระหว่าง 19-23 มิถุนายน 2567 ประกอบด้วย 1) การประชุม GCEC ครั้งแรกในทวีปเอเชีย ในหัวข้อ “New Frontier: Bangkok Summit 2024” สะท้อนความคิด “Inclusive Entrepreneurship Driving Impact” 2) การแข่งขัน Bangkok Business Challenge 2024 (BBC 2024) ซึ่งเป็นการแข่งขันสตาร์ทอัพระดับนิสิตนักศึกษาระดับโลกที่จัดโดย สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และเป็นการแข่งขันสตาร์ทอัพระดับนิสิตนักศึกษาระดับโลกที่จัดโดยสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และเป็นการแข่งขันโครงการธุรกิจที่จัดต่อเนื่องกันยาวนานที่สุดในเอเชีย 3) การแข่งขัน Family Enterprise Case Competition – Asia Pacific 2024 (FECC-AP 2024) เพื่อเฟ้นหากลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ตีโจทย์ธุรกิจครอบครัวได้ยอดเยี่ยมและวิเคราะห์กลยุทธ์ได้ดีที่สุด ผู้ชนะจะได้เข้าร่วมการแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลก ที่สหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคมปีหน้า โดยศศินทร์ซึ่งครองตำแหน่งแชมป์โลกในปัจจุบันได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนี้เป็นครั้งแรกในเอเชีย
นอกจากนี้ การประชุม GCEC ยังมีการจัดเสวนาอีก 3 หัวข้อ ให้เข้าร่วมฟังตลอดทั้งสัปดาห์ เวทีเสวนาแรก “Driving Inclusive Entrepreneurship Ecosystems for Impact: Journey to Success” เป็นการสำรวจกลยุทธ์ความร่วมมือและความก้าวหน้าล่าสุดเกี่ยวกับระบบนิเวศนวัตกรรมสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการทั้งในประเทศและภูมิภาค ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนจาก Knowledge Exchange for Innovation (KX) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, CWU STeP จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ CU Innovation Hub จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วยสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสถาบัน Aspen Network of Development Entrepreneurs (ANDE)
เวทีที่สอง คือ “Navigating the Startup Path to Success: Insights from Investors and Enablers for Impact Entrepreneurs” ที่จะเจาะลึกความท้าทายและจุดประกายแนวทางระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพและวิสาหกิจเพื่อสังคม เปิดพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายให้กับสตาร์ทอัพน้องใหม่ พบปะนักลงทุนร่วมฟังความเห็นของผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการด้านสังคมและการเกษตร โค้ชธุรกิจสมาคมค้าสตาร์ทอัพไทย ศูนย์ Yunus Center AIT นักลงทุนอิสระ (angel investor) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
และปิดท้ายด้วยเวที “Redefining Values for Impact Entrepreneurship with the Sufficiency Economy Philosophy (SEP)” ดำเนินรายการโดย นายวสุ ศรีวิภา หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์ผลกระทบแห่งสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และรองประธาน UN PRME Chapter ASEAN + Chapter ร่วมเสวนาโดย นายสุกิจ อุทินทุ อดีตผู้อำนวยการคนแรกของ SEAMEO SEPS และคอลัมนิสต์ของเดลินิวส์ และ มร.สตีฟ ยัง ประธานร่วมกิตติมศักดิ์ ของศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการแห่งศศินทร์ การอภิปรายจะว่าด้วยแนวทางบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการอย่างสมดุลและครอบคลุม และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้มากขึ้นในคราวเดียวกัน
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024 (Sasin IEW) สามารถติดต่อขอลงทะเบียนร่วมงานและเข้าชมกิจกรรมหลักสามอย่าง 1) การแข่งขันแผนธุรกิจสตาร์ทอัพ Bangkok Business Challenge: BBC 2) การแข่งขันแก้ปัญหากรณีศึกษาธุรกิจครอบครัว Family Enterprise Case Competition – Asia Pacific 2024: FECC และ 3) การประชุมสุดยอด GCEC New Frontier: Bangkok Summit 2024
ได้ที่ ศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการ สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ โทร. 0-22218-4078 อีเมล์: sasinsec@sasin.edu และสามารถติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ ได้ที่ www.facebook.com/sasinschoolofmanagement