เท่าที่เราทราบ หน้าที่ของผมในปัจจุบันก็คือเพื่อการเข้าสังคม เส้นผมที่จัดแต่งอย่างดีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตส่วนตัว หน้าที่การงาน และความรู้สึกดีกับตัวเอง บทบาทของผมที่ลดความสำคัญลงก็คือการปกป้องหนังศีรษะจากการบาดเจ็บ การให้ ความอบอุ่นในอากาศหนาว และการป้องกันรังสีของดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน เรามีทั้งหมวกและเครื่องนุ่งห่มอย่างอื่นช่วยทำหน้าที่เหล่านี้
สำหรับคนที่มีปัญหาเส้นผม โดยเฉพาะ ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ซึ่งสมัยนี้ไม่ใช่แต่ผู้ชาย ผู้หญิงก็ประสบปัญหามากขึ้นเหมือนกัน ทั้งปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น กรรมพันธุ์, ยีนส์ ฯลฯ หรือปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น การใช้ยาบางตัวในการรักษาโรค ฯลฯ ฉะนั้นก่อนที่ผมจะเสียไป ลองมาทำความเข้าใจกับ “วงจรของเส้นผม” ที่ถูกต้องกันซะก่อน โดย นพ.ธิติวัฒน์ วีรโรจน์รัชกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมจาก MHC GAYSORN Urban Hair transplant ให้สัมภาษณ์
“ในจำนวนรากขนทั้งหมดประมาณห้าล้านรากทั่วร่างกายมนุษย์ มีอยู่ 100,000 ถึง 150,000 รากที่อยู่บนหนังศีรษะปกติ จำนวนรากผมมีความสัมพันธ์กับสีผม รากผมมีมากที่สุดในคนผมสีบลอนด์ รองลงมาคือผมสีน้ำตาล และน้อยที่สุดในคนผมสีส้ม และ วงจรการงอกของเส้นผม โดยปกติ อัตราการงอกปกติของเส้นผมคือ 1/4 ถึง 1/2 นิ้วต่อเดือน การงอกของเส้นผมมีรูปแบบเป็นวงจรซึ่งได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม โรค ยา และปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลให้ผมร่วงเส้นผมจะก่อตัวในรากผม (hair follicle) และงอกออกมาจากรากในรูปแบบวงจรต่อเนื่องของการงอกและหยุดพัก วงจรของ เส้นผมนี้ประกอบด้วยสามช่วงด้วยกันคือ Anagen – ช่วงของการงอก ประมาณ 2 ถึง 8 ปี
Catagen – ช่วงถดถอย ประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ Telogen – ช่วงพัก ประมาณ 2 ถึง 4 เดือน ในช่วง anagen รากผมจะสร้างเส้นผมงอกออกมา ในช่วง catagen รากผมจะเสื่อมลง ในช่วง telogen รากผมจะหยุดพักก่อนจะเริ่มต้นช่วง anagen อีกครั้งและสร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่ เส้นผมใหม่ที่งอกออกมาจะผลักเส้นผมเก่าที่ “ตาย” แล้วให้หลุดออกไป ตามปกติ เส้นผมของช่วง telogen จะร่วงออกมา ประมาณวันละ 50 ถึง 100 เส้น ซึ่งเห็นได้บนหวี แปรง และท่อระบายในห้องน้ำ โดยปกติจะมีรากผมประมาณ 10 เปอร์เซนต์ ที่อยู่ในช่วง telogen ถ้าหนังศีรษะมีสุขภาพแข็งแรงดีและไม่ถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยที่ทำให้ผมร่วง”
“สำหรับสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ฮอร์โมน ฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน (androgen) เป็นตัวสำคัญที่กำหนดการงอกและการร่วงของเส้นผมในรูปแบบของชายและหญิงซึ่ง ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม ฮอร์โมนแอนโดรเจนตัวหนึ่งที่ชื่อเทสโทสเตอโรน (testosterone) และสารที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ คือไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (dihydrotestosterone, DHT) เป็นปัจจัยควบคุมหลัก เทสโทสเตอโรนคือปัจจัยควบคุมหลักในการงอกของหนวดเครา ขนรักแร้ และขนบริเวณอวัยวะเพศ, การงอกของเส้นผมบนหนังศีรษะไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนแอนโดรเจน แต่การร่วงของเส้นผมมีความ เกี่ยวข้องกับ DHT ที่ปรากฏอยู่ในการร่วงในรูปแบบของชายและหญิงDHT ร่วมกับการมียีนที่ทำให้ผมร่วงคือปัจจัยสำคัญ ของอาการผมร่วงในรูปแบบของชายและหญิง ยีน การร่วงในรูปแบบของชายและหญิงเรียกว่า androgenetic alopecia (AGA) เนื่องจากทั้งแอนโดรเจน (andro) และยีน (genetic) มีบทบาทร่วมกัน alopecia เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เรียกอาการผมร่วง Androgenetic alopecia (AGA) “เป็นกรรมพันธุ์” คืออาการที่เกี่ยวข้องกับยีน อาการผมร่วง (AGA) จะเกิดขึ้นได้ต้องมีทั้ง DHT และยีนผมร่วงปรากฏอยู่พร้อมกัน ยีนผมร่วงทำให้รากผมไวต่อ DHT มากกว่าปกติ และความไวนี้ในที่สุดจะทำให้รากผม (1) หยุดสร้างเส้นผม หรือ (2) สร้างแต่ผมเส้นเล็กบางเหมือน “ขนลูกพีช” ปริมาณของ DHT ไม่จำเป็นต้องมากกว่าปกติก็สามารถ ทำให้เกิด AGA ได้ เพียงแค่มียีนผมร่วงก็เพียงพอที่จะทำให้ DHT ไปหยุดการทำงานของรากผม”
“รูปแบบการถ่ายทอดยีนผมร่วงทำนายได้ยากในคนทั่วไป ถ้ามีพ่อหรือลุงที่เป็น AGA ก็ทำให้มีความเป็นไปได้—แต่ไม่เสมอไป—ที่ลูกชายหรือลูกสาวจะเป็น AGA ด้วย แพทย์และผู้เชี่ยวชาญการรักษาผมร่วงมีความเข้าใจคุ้นเคยกับลักษณะทางพันธุกรรมของ AGA และสามารถให้คำแนะนำคนไข้เกี่ยวกับอาการแรกเริ่มและพัฒนาการของอาการผมร่วงในรูปแบบของชายและหญิง การรักษาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขผมร่วง การรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดต้องมาจาก การวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องตรงจุด วิธีที่รวดเร็วและแน่นอนที่สุดคือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญการรักษาผมร่วงที่ได้รับการฝึกฝนและ มีประสบการณ์”
“ก่อนที่จะแนะนำให้คนไข้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่ต้องผ่าตัด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการทดสอบหลายชนิด ซึ่งอย่าง น้อยจะต้องประกอบด้วย (1) ประวัติทางการแพทย์ (2) การตรวจร่างกาย และ (3) การตรวจหนังศีรษะ ถ้าผลการตรวจเหล่านี้บ่งชี้ ว่าอาการผมร่วงเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ผมร่วงในรูปแบบของชายหรือหญิง แพทย์จะตรวจหาสาเหตุอื่นต่อไป ในผู้ชายการวินิจฉัย androgenetic alopecia ทำได้ไม่ยาก แต่ในผู้หญิง การหาสาเหตุที่ชัดเจนอาจยุ่งยากกว่า ในบางรายจะต้องรักษาอาการที่เป็น สาเหตุเช่น hypothyroidism ให้หายโดยแพทย์ประจำของผู้ป่วย ก่อนที่จะรักษาฟื้นฟูผมร่วงได้”
ปัจจุบันมีวิทยาการก้าวล้ำมาก ช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ได้ผล เรียกว่า ศัลยกรรมปลูกผมถาวร โดยแบ่งเทคนิคในการทำออกเป็น 2 เทคนิคหลัก คือ Strip Harvest Technique หรือบางทีจะใช้คำว่า FUT, FUG คือการตัดเอาหนังศีรษะบริเวณด้านหลังออกมาแล้วเย็บปิด จากนั้นนำหนังศีรษะที่ได้มาแยกรากผมที่ต้องการออก ซึ่งอาจใช้กล้องจุลทรรศน์ (Stereomicroscope) หรือ บางแห่งใช้แว่นขยาย (Magnifying Loop) รายละเอียดด้านเทคนิคการตัดและคัดแยกรากผมอาจแตกต่างกันในแต่ละที่ FUE คือการใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายเข็มฉีดยา แต่บริเวณปลายของอุปกรณ์นี้ไม่มีความแหลมคม แต่เป็นลักษณะทรงกระบอกขนาดเล็ก ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่ 0.8 mm. ขึ้นไปถึงขนาด 1.1 mm. โดยแพทย์จะใช้อุปกรณ์นี้ เจาะครอบบริเวณผม และรูรากผม ลงลึกไปถึงระดับรากผม จากนั้นจึงจะเก็บรากผมที่เจาะไว้แล้วออกมา ปัจจุบัน เครื่องมือ FUE มีมากมายในท้องตลาด และมีการใช้ชื่อของเครื่องมือของตัวเองเป็นเทคนิค โดยบางเครื่องอาจเจาะและเก็บไปพร้อม ๆ กัน เครื่องมือดังกล่าว จะเจาะแล้วใช้แรงดูดรากผมเข้ามาเก็บไว้ ซึ่งทั้งหมดเราเรียกว่าเป็น FUE เหมือนกัน รวมถึงการพัฒนาหุ่นยนตร์เพื่อเจาะรากผม ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดๆ ที่จะมีข้อดีทั้งหมดไม่มีข้อเสียเลย ผู้รับบริการต้องการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีว่าเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่
ทั้งนี้ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดๆ ที่จะมีข้อดีทั้งหมดไม่มีข้อเสียเลย ผู้รับบริการต้องการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีว่าเหมาะสมกับตัวเอง และปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ๆ ช่วยให้ จ่ายน้อย เจ็บน้อย และได้ผลคุ้มค่า กว่าเดิม อาทิ การนำหุ่นยนต์ปลูกผม ARTAS ฯลฯ ซึ่งขณะนี้ชาวต่างชาติ ให้ความสนใจมาปลูกผมที่เมืองไทยจำนวนมาก ดังนั้นผู้ประสบปัญหาในเมืองไทย ไม่ต้องกลัว!!!!