ป้องกันตกงาน 4.0 เช็คลิสต์ ทักษะอะไรที่คนไทยขาด ขาดระดับไหน???

 

  • “โอกาส” เป็นของคนมุ่งมั่น และ “พยายาม” เป็นหนทางของความสำเร็จ ในยุคที่ตัวเลขคนตกงานทวีสูงขึ้นกว่าตัวเลขเติบโตเศรษฐกิจหลายเท่า มองไปทางไหนก็เจอแต่คนไม่ได้ไปต่อ ถามว่าเราจะปล่อยให้ตัวเองเป็นแบบนั้นหรือไม่??
  • นี่แค่ยกแรก สู่กับประชากรในประเทศด้วยกัน ยังไม่ได้ไปต่อ
  • หากอาเซียนหรือตลาดโลกเปิดเสรีเต็มตัว อัตราคนว่างงานในไทยจะเป็นเช่นไร
  • ย้อนดูข้อมูล ณ วันนี้ ประเทศไทยไม่ได้ “ขาด-แรงงาน” เพียงแต่ “ขาดแคลน-แรงงานคุณภาพ”
  • ยุคนี้เป็นโลกดิจิทัล  “พื้นที่” แคบลง แต่ “โอกาส” เปิดกว้างมากขึ้น ถ้าอยากมีที่ยืนเราควรมีทักษะดังต่อไปนี้ (มาสิ, ไปต่อกันนนนนน)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ประเทศไทยกำลังมุ่งเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0   เพื่อให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีและการสื่อสาร จึงเกิดความร่วมมือของ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และ ภาคประชาชน ในการเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรจะสามารถทำให้การขับเคลื่อนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเร่งด่วน เกิดเป็นแนวคิดและที่มาในการจัดการแข่งขัน ICDL Digital Challenge 2018   เพื่อ ยกระดับทักษะความรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) สู่มาตรฐานสากล, ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงค้นหาตัวแทนของประเทศไทยไปแสดงศักยภาพในการแข่งขันเวทีระดับนานาชาติด้วย

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติเป็นประธานพร้อมให้โอวาท จุดประกายคนรุุ่นใหม่ต้องพัฒนาตัวเอง

 ดร.ฮิวจ์ส แพททริค โอคอนแนล กรรมการผู้จัดการ  ICDL Thailand  หน่วยงานที่ประเมินระดับความรู้ความสามารถด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งได้รับการยอมรับระดับโลก เผยว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาพัฒนาทักษะด้าน Digital Lieracy  ของตัวเอง เพราะสำหรับ “โลกดิจิทัล”  แล้วระดับอ่านออกเขียนได้ ไม่พออีกต่อไป ทั้งบริษัทฯของไทยที่ต้องการกำลังพลคุณภาพไปเจาะตลาดโลก อีกทั้งบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนและใช้ประเทศไทยเป็นฐานก็ล้วนต้องการคนทำงานที่ได้มาตรฐานพร้อมใช้ในทันที

ถามว่า “มาตรฐานระดับสมรรถนะด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล” ซึ่งเป็นที่ยอมรับและอ้างอิงอย่างกว้างขวาง คร่าวๆ มีอย่างไร ดร.ฮิวจ์ส     เผยว่าดังนี้

  • Digital Expertise  (ระดับความเชี่ยวชาญเฉพาะทางดิจิทัล) ทักษะสำหรับตำแหน่งงานขั้นสูง ลักษณะทั่วไปได้แก่ จัดทำการวิเคราะห์งบประมาณ, จัดการนำเสนอที่ดึงดูด น่าประทับใจ, จัดทำรายงานที่ซับซ้อน, บริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ได้
  •  Digital Competence (ระดับเสริมสมรรถนะทางดิจิทัล) ทักษะสำหรับที่ทำงาน ลักษณะทั่วไปได้แก่ ทำงานร่วมกับทีมแบบออนไลน์ได้, จัดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้, จัดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้, จัดทำการนำเสนอได้ (Presentation), รู้จักจัดทำและใช้รูปภาพดิจิทัลได้
  • Digital Literacy (ระดับการอ่านออกเขียนได้ทางดิจิทัล) ทักษะประจำวัน ลักษณะทั่วไปได้แก่ จัดหมวดหมู่และจัดระบบอีเมล์ได้, รู้จักการรักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต, จัดทำเอกสารได้ (Document), สร้างและใช้งานตารางคำนวณ (Spreadsheet)
  • Digital Awareness (ระดับความรู้จักดิจิทัล) ลักษณะทั่วไปได้แก่ รับ-ส่งอีเมล์, มีความมั่นใจในการใช้คอมพิวเตอร์, รู้ว่าคอมพิวเตอร์สามารถทำอะไรได้, เข้าใจในการใช้อินเทอร์เน็ต

ทัั้งนี้ แต่ละระดับไม่ใช่กากบาทได้หรือทำเช็คลิสต์ คิดเอง เออเอง ว่าเราอยู่ระดับไหน ตามอำเภอใจอย่างแต่ก่อน  เพราะหาก “กฎหมาย” เป็นข้อกำหนดตรงกลางเพื่อแบ่งเส้นผิดหรือถูก วัดระดับความร้ายแรงของการกระทำ แบบทดสอบนี้ก็จะเป็นค่ากลางสำหรับมาตรฐานการทำงานระดับโลก  ว่าผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ระดับไหน ซึ่งหลักๆ วัดจากความเชี่ยวชาญ ความแม่นยำ ความคิดสร้างสรรค์ ผ่านช่วงเวลาจำกัด นับจำนวนคลิกหรือการใช้เครื่องมือต่างๆ บนเครื่อง แน่นอนว่า “ยิ่งน้อยเท่าไหร่??” ยิ่งสะท้อนความเชี่ยวชาญและแม่นยำเท่านั้น กระนั้นแม้ผลสอบไม่เป็นที่พอใจ  ข้อดีคือทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ก็จะดีขึ้นแน่นอน  เปรียบเสมือนบันไดคุณได้ก้าวสู่ขั้นต่อไปของ Digital Literacy

 

ทีนี้ ่ถามถึงดัชนีที่เป็นมาตรฐาน จะเชื่อถือได้อย่างไร ??

 จากข้อมูล  The International Computer Driving Licence (ICDL) คือ วุฒิบัตรรับรองความสามารถคอมพิวเตอร์ระดับมาตรฐานสากล มีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับความรู้ความสามารถ และความมั่นใจในการใช้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศให้เกิดประโยชน์และเพิ่มขีดความสามารถการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการใช้งานของประชากรทุกคนในโลกให้ได้มาตรฐานคุณภาพเดียวกัน ปัจจุบัน ICDL ถูกยอมรับว่าเป็นผู้นำอันดับหนึ่งเรื่องการประเมินระดับความรู้ความสามารถด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และยังได้รับการลงนามรับรองโดยหน่วยงาน รัฐบาล และสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสหประชาชาติ และบริษัทชั้นนำต่าง ๆ”

ตลอดช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา   ICDL ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการยกระดับศักยภาพทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน  นักเรียน นักศึกษา  ประชาชนและแรงงานของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปอัฟริกา และทวีปอเมริกา นับเป็นกลไกขับเคลื่อนให้นโยบาย E-Government นำไปสู่การปฏิบัติเต็มรูปแบบได้ตามเป้าหมาย ช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและการลงทุนให้กับหลายประเทศ เช่น ประเทศสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน ไอร์แลนด์ สิงคโปร์ เกาหลี อินเดีย เป็นต้น ทั้งนี้โดยการที่จัดให้อยู่ในกรอบมาตรฐานคุณสมบัติแห่งชาติ (National Qualification Framework) ของนานาประเทศทั่วโลก

ปัจจุบัน ICDL ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำอันดับหนึ่งเรื่องมาตรฐานที่มีคุณภาพด้านวุฒิบัตรวัดระดับความรู้ความสามารถด้านทักษะ ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  ICDL ได้รับการลงนามรับรองโดยหน่วยงานและสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ จากทั่วโลก ทั้งภาครัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งสหประชาชาติ ยูเนสโก  หน่วยงานด้านการศึกษาและบริษัทชั้นนำทั่วโลก โปรแกรม ICDL ได้ใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับราชการ นโยบายประเทศ บริษัทเอกชน หน่วยงานการศึกษา มหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียนในประเทศต่าง ๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลก ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 42 ภาษา มีผู้ที่ลงทะเบียนสอบแล้วถึง 15 ล้านคน และมีการสอบและรับรองวุฒิบัตรกว่า 50 ล้านฉบับในปัจจุบัน

แม้จะฝึกทักษะไม่ทัน ก็ขอให้บทความนี้ จุดประกายให้คนไทยทุกเจเนอเรชั่น หันมาพัฒนาทักษะด้าน Digital Lieracy  ของตัวเอง เพราะสำหรับ “โลกดิจิทัล”  แล้วระดับอ่านออกเขียนได้ ไม่น่าจะพออีกต่อไป

โดยหลังจากนี้จะมีบริษัทฯ ต่างชาติ เข้ามาลงทุนอีกมากมาย ถ้าไม่อยากตกงาน ต้องเตรียมตัวให้พร้อม