ประเทศชาติจะพัฒนาต้องเริ่มจากการศึกษาและเยาวชน เพื่อมอบโอกาสการศึกษาที่เท่าเทียมทั่วทั้งประเทศการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญละเลยไม่ได้ ให้กับเด็กอีก 75 จังหวัดทั่ว ในงาน มหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 จ.ร้อยเอ็ด จึงได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมหลากหลาย
สาระดีๆ ยิ่งกว่านั้นคือการจัดเสวนาเรื่อง “การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21” เชิญวิทยากร ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ ดร.ตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระดมความคิด ชี้แนะหัวข้อ โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบการศึกษาท้องถิ่น ปรับตัวรับมืออย่างไร ???
รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ : คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่กำหนดคุณภาพการศึกษาที่เรากำหนดให้ เน้นคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน แต่เราต้องรู้ก่อนว่า ในศตวรรษที่ 21 จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่ 1 คนจะรู้หนังสือมากขึ้น 2 จำนวนคนเรียนสูงจะมากขึ้น แต่การเรียนสูงไม่ได้บ่งบอกว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต เราผลิตเด็ก แต่เด็กที่เราผลิต มีทักษะการทำงานไม่เป็นไปตามที่เขาอยากได้ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องการให้คนเรียนสูงเยอะขึ้น 3 รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในวงการการศึกษา คนของเราเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ผ่านสื่อออนไลน์ผ่าน 5 จี แต่สิ่งที่สำคัญสื่อเหล่นี้เด็กเราใช้เพื่อพัฒนาการเยนรู้ตัวเองได้แค่ไหน และต้องเรียนรู้อย่างถูกวิธี 4 เรียนรู้ตลอดเวลา ฯลฯ
ในมุมมองผม คุณลักษณะของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 คือ 1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยให้คล่องในระดับอนุบาล 3 มีความสามารถด้านเทคโนโลยียีดิจิตอล เราต้องการอุปกรณ์ที่เข้าถึง 4 มีความสามารถในการเรียนรู้ไผ่รู้พัฒนาตนเอง แม้สื่อดีถ้าไม่สร้างอุปนินิสัยเรียนรู้เพื่อการพัฒนา สมรรถนะของเด็กต้องดี 5 ความมุ่งมั่นมานะะอดทนเป็นตัวของตัวเอง ภารกิจหลักมีคาวามคิดอ่านด้วยเหตุผล ไม่ชักจูงได้ง่าย สู่พลเมืองที่เข้มแข็ง ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดี6 มีจิตสาธารณะ ต้องถูกฝึก ปลูกฝังจิตอาสา 7 อยากเห็นคนไทยเป็นคนดี มีคุณธรรม และจริยธรรม 8 อยากเห็นเด็กถูกฝึกทักษะแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เด็กจะรู้ว่าอะไรควรปรับปรุงแก้ไข 9 เด็กไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ ต้องสอนในเชิงสมรรถนะ 10 อย่าทิ้งอัตลักษณ์ความเป็นไทย
ด้าน ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย : สิ่งที่การศึกษาระดับท้องถิ่นควรทำคือ 1 การศึกษาระดับท้องถิ่นควรจัดการศึกษาเพราะมีต้นทุนที่ดีแล้ว ท้องถิ่นมีความรับผิดชอบทางสังคม ต้องทำให้ดี 2 องค์กรท้องถิ่น มีความยืดหยุ่นและมีความเป็นเอกภาพ หัวใจสำคัญคือ มีอิสระที่คิดออกแบบ จัดการเรียนการสอน การค้นหาเด็กในโรงเรียนนั้น หัวใจสำคัญต้องมีเลนส์ที่ละเอียด จุดค้นหาที่เป็นข้ออ่อนของเด็ก เช่น ต้องหาเด็กพิเศษให้พบให้เร็ว เพื่อการรีบพัฒนา 3 คือองค์กรท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงการศึกษาไปให้ได้ ต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กสามารถใช้ชีวิตให้รอด หลักคิดคือเอาปัญหาของชุมชนเป็นฐานและให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการใช้ชีวิตจริง ๆ โอกาสสำคัญที่ 4 คือ เราต้องขยายความคิดปรัชญา“เอ็ดดูเคชั่น ฟอร์ ออล” คือ ไม่ใช่การศึกษาเฉพาะนักเรียน แต่เพื่อทุกคน นั่นคือการศึกษานอกโรงเรียนตามอัธยาศัย นำไปสู่อาชีพ ท้องถิ่นควรรทำเรื่องการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. เพื่อทำให้คนเกิดความรู้อยู่ตลอดเวลา กิจการทุกอย่างที่ต้องทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ถ้าเราเข้าใจปรัชญานี้ก็จะดีมาก 4 การศึกษาท้องถิ่น ช่วยลดความเลื่อมล้ำของคนได้ วันนี้ท้องถิ่นได้ลดปัญหาความเลื่อมล่ำในสังคมมากมาย เช่น เด็กมาจากครอบครัวยากจนแค่ไหนก็ต้องได้เรียนขั้นพื้นฐาน หรือแม้แต่เด็กต่างด้าวก็ยังได้มาเรียน ต้องบริหารจัดการให้ได้ ผมคิดว่าองค์กรท้องถิ่นควรช่วยกันกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ต้องใช้โรงเรียนเป็น “คอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์” เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โรงเรียนท้องถิ่นต้องไม่มีรั้วของวัฒนธรรม อย่าง สพฐ.วันหยุดยาวคือไปเที่ยว แต่ครูท้องถิ่นคือวันหยุดคือการทำงานที่หนักที่สุด คนญี่ปุ่นทำ 7 ข้อ นอนเร็วตื่นเร็ว กินช้าวเช้าทุกวัน มีการพูดคุยกันในครอบครัว เด็ก ๆ ต้องทำการบ้านด้วยตัวเอง โรงเรียนและพ่อแม่จะสอนว่า เด็ก ๆ ตอนเช้ามีหน้าที่ทำอะไร กำหนดให้เด็ก ๆ ดูทีวีเล่นเกมส์ให้เป็นเวลา ช่วยกันตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน เพราะผู้ปกครองคือหุ้นส่วนของการจัดระบบการศึกษา ถ้าทำได้ระบบการศึกษาระดับท้องถิ่นจึงจะไปได้ไกล
ด้าน ดร.ตวง อันทะไชย : โลกเปลี่ยนชีวิตต้องเปลี่ยน ในอดีตยุคสองจี โทรเลข ธนาณัติเลิก ต่อไปยุค 5 จี มีทั้ง fintech / block chain /digital/ business / robot ในอนาคตเราต้องไปสร้างนวัตกรรมก็ได้แม้ไม่ต้องจบปริญญา แต่ขอให้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้ ในระบบโรงเรียนเด็กๆ ต้องสังเกตตัวเองว่า การเรียนเรียนอะไรแล้วชอบ เราจึงต้องเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เรียนรู้วิชาชีวิต ส่วนสถาบันฯ เมื่อเรารู้ว่าเด็กเชี่ยวชาญเฉพาะอะไร ต้องสอนตอบโจทย์ให้ได้ ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของชาติ ไม่มีเครื่องมือใดดีไปกว่า ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาสร้างคนและสร้างชุมชนได้ อย่ารอ อย่าคาดหวังต้องปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองไทยก่อน เนื่องจากการศึกษาเป็นเครื่องมือเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ ต้องทำตรงนี้ก่อน”
ท้ายสุดคณะตัวแทนผู้จัดงานหลัก นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด, นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด กล่าวถึงภาพรวมครั้งนี้ว่า ขอบคุณจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีความเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพ เตรียมงานหลายเดือน ได้รับความอนุเคราะห์ร่วมมือจากหลายฝ่าย จัดการแข่งขันถึง 5 สนามด้วยกัน ให้ผู้เข้าร่วมงานได้เลือกชมและเชียร์ตามอัธยาศัย นอกจากนี้ยังเปิดเมืองครั้งใหญ่ ให้เหล่า คุณครู ผู้ปกครอง และเด็กที่มาแข่งขันได้ไปทัศนศึกษา เรียนรู้วัฒนธรรม จากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เปิดให้ชมฟรีตลอดการจัดงาน เชื่อว่านอกจากแรงบันดาลใจดีๆ ในการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานของบุคลากรที่เข้าร่วมงานแล้ว ทุกคนยังประทับใจกับจังหวัดซึ่งเตรียมการเป็นเจ้าภาพอย่างดีด้วย